วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การแก้ไขปัญหายาเสพติด

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อให้อาสาสมัครสาม ธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำคัญคือ การมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้คัดเลือกเป็น อสม. ดีเด่น ระดับชาติ

10 ปีที่ผ่านมา มีการคัดเลือกอาสาสมัครดีเด่นระดับชาติในเขตเมืองและชนบท สำหรับในปี 2547 คณะกรรมการได้มีมติให้มีการคัดเลือก อสม. ดีเด่นระดับชาติ 10 สาขาดังนี้

สาขาที่ 1 การควบคุมป้องกันไข้เลือดออก สาขาที่ 2 การดำเนินงานเรื่องเอดส์ชุมชน สาขาที่ 3 สุขภาพจิตชุมชน สาขาที่ 4 การแก้ไขปัญหายาเสพติด สาขาที่ 5 การสร้างสุขภาพ สาขาที่ 6 การบริการใน ศสมช. สาขาที่ 7 การออกกำลังกาย สาขาที่ 8 การคุ้มครองผู้บริโภค สาขาที่ 9 การแพทย์แผนไทย สาขาที่ 10 การพัฒนาสังคม

สำหรับผู้ที่ได้คัดเลือกเป็น อสม. ดีเด่น ระดับชาติ สาขาการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในปี 2547 คือนายจำรัส คำรอด ประธาน อสม.ประจำหมู่บ้าน 12 บ้านหนองสร้อยติ่ง ตำบลหนองไม้แก่น อำเภอเปลยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากเป็น อสม. แล้วคุณจรัสยังเป็นผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต ประธานกลุ่มร้านค้าชุมชน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนหนองไม้แก่น ฯลฯ และได้พัฒนาหมู่บ้านจนได้รับผลงานดีเด่น เช่น องค์กรประสานพลังแผ่นดินที่มีผลงานดีเด่น หมู่บ้านปลอดยาเสพติดดีเด่นระดับอำภอ หมู่บ้านเศรษฐกิจพึ่งตนเอง

บ้าน หนองสร้อยติ่ง ตำบลหนองไม้แก่น มียาเสพติดระบาดตั้งแต่ปี 22541 ทำให้เกิดปัญหาลักขโมยในชุมชน มีการใช้ยาเสพติดเป็นรางวัลจูงใจในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในฐานะผู้นำหมู่บ้าน คุณจำรัสได้พูดคุยกับกรรมการหมู่บ้าน อสม. อบต. และเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา โดยเน้นกิจกรรมการรณรงค์ให้ความรู้กับชุมชนและเยาวชนในโรงเรียน ใช้เวลา 22 ปี แต่ไม่มีประสบผลสำเร็จ

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ลุล่วง ต้องการให้หมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดี ประกอบกับในปี 2543 รัฐบาลได้ประกาศทำสงครามกับยาเสพติด โดยมีแนวทางดำเนินงานในชุมชน คือ เน้นชุมชนเข้มแข็ง คุณจำรัสจึงได้เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ยั่งยืน โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

1. ชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาและแก้ไขปัญหาชุมชน โดยการพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและที่จะติดตามมาแก้ไขทบทวนวิธีปฏิบัติ ที่ผ่านมา มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรบ้าง แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่ได้ผลจากชุมชนอื่นๆ ร่วมกับใช้แนวทางของรัฐ ปรับให้เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองสร้อยติ่ง คัดสรรผู้นำตามธรรมชาติและคณะกรรมการเพื่อกำหนดแผนการแก้ไขปัญหา 2. จำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การจำแนกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ชัดเจน ช่วยทำให้วิธีการแก้ไขได้เหมาะในแต่กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปลอด ใช้การเสริมสร้างความดี ยกย่อง ชมเชย โดยมอบวุฒิบัตร / แจกธงประจำบ้าน กลุ่มเสี่ยง ป้องกันโดยรณรงค์ ให้ความรู้ ประสานกับโรงเรียนและครอบคร้วในการเฝ้าระวัง กลุ่มเสพ/กลุ่มติด ช่วยเหลือให้ หยุด ลด เลิก โดยส่งบำบัด จัดกิจกรรมในชุมชนสนับสนุนให้หยุดใช้ ควบคุมไม่ให้แหล่งจำหน่ายในหมู่บ้าน วางเงื่อนไขทั้งด้านบวกและลบ เช่น ไมาส่งชื่อให้ตำรวจ ให้โอกาสกลับตัวกลับใจ ถ้าไม่เลิกจะไม่ให้กู้เงินกองทุน ถ้าเลิกได้จะจัดให้อยู่กลุ่มปลอด ให้กู้ยืมเงินไปลงทุน กลุ่มผู้ค้า ช่วยเหลือให้ หยุด ลด เลิก โดยส่งบำบัด จัดกิจกรรมในชุมชนสนับสนุนให้หยุดใช้ ควบคุมไม่ให้แหล่งจำหน่ายในหมู่บ้าน วางเงื่อนไขทั้งด้านบวกและลบ เช่น ไมาส่งชื่อให้ตำรวจ ให้โอกาสกลับตัวกลับใจ ถ้าไม่เลิกจะไม่ให้กู้เงินกองทุน ถ้าเลิกได้จะจัดให้อยู่กลุ่มปลอด ให้กู้ยืมเงินไปลงทุน 3. ติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้เสพและค้า จำเป็นยิ่งที่จะต้องใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป นั่นคือมีงานประจำทำ มีการออกกำลังกาย ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน รู้สึกตนเองมีคุณค่าในหมู่บ้านหนองสร้อยติ่งชุมชนยอมรับและเปิดโอกาสให้กู เงินลงทุน ให้เข้าสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หมู่บ้าน เป็นประธานกีฬาหมู่บ้าน ฯลฯ มีการเฝ้าระวังโดยประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบแต่ละครอบครัวเป็น ประจำทุกสัปดาห์ เด็กนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น หนีเรียนครูจะรายงานให้คณะกรรมการหมู่บ้านทราบ เพื่อจะได้ไปพูดคุยกับครอบครัว 4. สร้างกำแพงป้องกันชุมชนให้ปลอดยาเสพติด ใช้กลยุทธ์และรับ โดยสร้างเครือข่ายขยายรูปแบบและวิธีการแก้ไขปัญหายาเสพติดไปยังหมู่บ้านใกล้ เคียง เพื่อให้ปลอดยาเสพติดด้วยเช่นกัน และเป็นที่ศึกษาดูงานของชุมชนอื่น ๆ ตลอดจนหน่วยงานที่สนใจ

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านหนองสร้อยติ่ง นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จ เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคม การแก้ไขและการป้องกันที่ยั่งยืนควรทำโดยชุมชน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดสามารถอยู่ในชุมชนได้ แม้ว่าปัญหายาเสพติดจะเกี่ยวข้อง กับกฏหมาย แต่การใช้มาตรการทางกฏหมายอย่างเข้มงวดคงจะแก้ไขได้เฉพาะปัญหาพื้นผิวและ ใช้ได้ผลเพียงระยะหนึ่งเท่านั้นการแก้ไขในระดับลึกและยั่งยืนคงต้องใช้ความ มุ่งมั่นของผู้นำ การยอมรับและให้โอกาสของคนในชุมชน โดยมีภาคราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน

ที่มา :http://www.jvkk.go.th/jvkkfirst/story/general/35.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น